Dejima & Shinchi Chinatown

 

Dejima ชุมชนตะวันตกเดจิมะ ความร่วมสมัยของอดีตกับปัจจุบัน

จากท่าเรือเดจิมะ สามารถเดินต่อมาจนถึงกลุ่มอาคารตะวันตก ซึ่งเป็นอาคารไม้ที่เรียงตัวบนสันเขื่อนตามแนวโค้งของแม่น้ำสายเล็ก (Nagasaki river) ที่ได้รับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกไว้ จากทางเข้าประตูทิศตะวันตก (Sea gate) ซึ่งในหนังเรื่อง 47 โรนิน พูดถึงเกาะเดจิมะด้วย ตอนหนึ่งในโรนินมาตามไค (Kai, เคียนู รีฟส์) ให้ไปชิงตัวนางเอก และแก้แค้นให้พ่อของเธอ ผู้เป็นไดเมียว (Dimyo = ผู้ปกครองเมือง) ความจริงไม่อินกับหนังเรื่องนี้เท่าไหร่ตรงที่มีปีศาจงูด้วย (ฮา) แต่ฉากคว้านท้องเป็นอะไรที่ขลังจริง

 

ที่หมู่บ้านตะวันตกเดจิมะ สิ่งแรกที่เห็นคือบรรดาคุณลุงในชุดซามูไรเดินเตร็ดเตร่ถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยวที่สวมชุดยุคะตะ (Yukata) ซึ่งมีร้านเช่าอยู่ภายในนี้ พร้อมยังอาสาเป็นผู้ถ่ายรูปให้นักท่องเที่ยวด้วย แต่เดิมนั้นเกาะแห่งนี้สร้างจากการถมอ่าวนะงะสะกิ มีรูปทรงคล้ายพัด (Fan shaped) สร้างครั้งแรกปีค.ศ. 1636 เพื่อเป็นชุมชนชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายจากการเปิดท่าเรือในยุคที่ญี่ปุ่นยังปิดประเทศตั้งแต่ปีค.ศ. 1570 เพื่อจัดระเบียบพื้นที่ และจำกัดไม่ให้ศาสนาคริสต์เติบโตในสังคมญี่ปุ่น แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี ชาวโปรตุเกสได้อพยพออกไป และชาวฮอลแลนด์จากเมืองฮิระโดะ (Hirado) ทางตอนเหนือของจังหวัดนะงะสะกิได้เข้ามาอาศัยแทนที่ พร้อมกับนำวิทยาการล้ำหน้าเข้ามาเผยแพร่ในช่วงรังงะกุ” (Rangaku ปีค.ศ.1641-1859) หรือยุคเรียนรู้ตะวันตก (Western learning) จนปลายศตรรษที่ 18 จึงบูรณะพื้นที่หมู่บ้านนี้อีกครั้งก่อนถูกปล่อยให้เสื่อมโทรมตามกาลเวลา และบูรณะล่าสุดระหว่างปีค.ศ. 1989-2006 เพื่อเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในยุคนั้นผ่านอาคารบ้านเรือนแบบตะวันตกที่ปลูกเรียงรายตลอดถนนสายเล็กๆ ในหมู่บ้านกว่า 20 หลัง ซึ่งแต่ละหลังเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม พร้อมจัดแสดงการออกแบบตกแต่งภายใน ทั้งแบบตะวันตก และแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม หรือผสมผสานทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน

Chief factor’s residence เรือนรับรองแบบตะวันตก

บ้านหลังนี้ตกแต่งแบบตะวันตก เช่น ห้องอาหารที่ตกแต่งโต๊ะพร้อมสำหรับงานเลี้ยงมื้อเย็น ไปจนถึงกระดาษติดผนัง (Wallpaper) ลวดลายแพรวพราวที่ได้รับอิทธิพลจากจีน และยังส่งอิทธิพลมายังลวดลายหีบห่อขนมต่างๆ ในวันนี้ ส่วนด้านหลังเป็นบ้านพักแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม บ้านทั้งสองหลังแสดงถึงความกลมกลืนในการผสมผสานบรรยากาศแบบตะวันตก และญี่ปุ่นดั้งเดิมได้อย่างดีงาม

 

 

ภายในอาคาร Trade museum หรือพิพิธภัณฑ์การค้า

เรือนไม้ที่ชั้นล่างรวบรวมเรื่องราวการค้า โดยเฉพาะการผลิตขนมหวานตะวันตก ไล่เรียงจากคัสเทลลา (Castella) เค้กไข่เนื้อสปองก์ (Sponge) ที่นุ่มเหนียวฟู ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส และโมโมคัสเทลลา (Momo castella) เค้กไข่ทรงลูกพีชที่ตกแต่งหน้าด้วยน้ำตาล ได้รับอิทธิพลจากจีน ตามความเชื่อว่าพีชเป็นผลไม้แห่งความอุดมสมบูรณ์ และมั่งคั่ง ขนมทั้งสองชนิดเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนะงะสะกิ รวมทั้งมะรุโบะโระ (Maruboro) ที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกสเช่นเดียวกัน ไปจนถึงวะงะชิ เช่น โยคัง (Yokan) หรือวุ้นเนื้อใสชวนกิน มันจู (Manju) โดะระยะกิ (Dorayaki) ฯลฯ ทั้งหมดนี้ ล้วนเกิดจากการนำเข้าวัตถุดิบน้ำตาลที่เป็นการปฏิวัติวัฒนธรรมขนมหวานของญี่ปุ่นนับแต่นั้นเป็นต้นมา

Former stone warehouse (Archaeology room)
Dejima international club restaurant ร้านอาหารในตึกเก่าแบบอังกฤษ

เกือบสุดถนนจะเจออีกอาคารหลังงาม The former nagasaki international club สร้างในปีค.ศ. 1903 แบบสถาปัตยกรรมอังกฤษเพื่อเป็นที่รับรองชาวต่างชาติ เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ชั้นล่างเปิดเป็นร้านอาหารที่พร้อมเสิร์ฟ “อาหารท้องถิ่นแบบนะงะสะกิ” หรืออาหารที่ผสมผสานความเป็นญี่ปุ่น จีน และตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งเมนูจะเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล บริหารจัดการโดยสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรม

ที่นี่จะเสิร์ฟอาหารราคาย่อมเยา แบบว่าเดินจนหิวก็แวะมากิน ราคาเบาๆ ที่ 800-1,200 เยน เช่น โซเมง (Somen) สเต็กเนื้อกวางสันนอก (Sirloin meat sliced deer steak) พายหมู (Wild boar and pork pasty) ฯลฯ อาหารเรียกน้ำย่อย 400-500 เยน มีซุปจากส่วนผสมผักต่างๆ กับปลาแห้ง (Hikado soup) หมั่นโถวพับไส้หมูสามชั้นตุ๋น (Kakuni)  สีส่วนของหวานมีชา กาแฟ น้ำผลไม้ มิลค์เชค เค้กคัสเทลลา ฯลฯ

จานเด่นคือ Nagasaki special turkish rice 1,000 เยน เป็นหนึ่งในอาหารแบบนะงะสะกิที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วยพาสต้าผัดซอสมะเขือเทศ และข้าวที่หุงกับหญ้าฝรั่น หรือแชฟฟรอน (Saffron) โปะด้วยหมูชุบเกล็ดขนมปังทอด (Tongkatsu) ราดซอสแกงกระหรี่ กับพาสต้าผัดซอสมะเขือเทศ เสิร์ฟพร้อมสลัดผักท้องถิ่น สำหรับ “Turkish rice” หรือข้าวตุรกีนั้นคืออะไร รู้จักแต่ข้าวหมกไก่แบบมุสลิม หรือข้าวบาสมาติ (Basmati) ที่กินกับไก่เทนดอรี (Tandoori) ลองเข้า Youtube ดูวิธีทำ จึงได้ทราบว่าเป็นเทคนิคผัดข้าวสารกับหญ้าฝรั่น ก่อนเติมซุป และหุงจนสุก แบบเดียวกับข้าวพิลาฟ (Pilaf rice) ซึ่งเป็นอาหารชาวตุรุกี โมร็อกโก ฯลฯ จึงเป็นจานที่สะท้อนความหมายของคำว่าวัฒนธรรมอาหารอย่างแท้จริง ร้านเปิดบริการเฉพาะมื้อกลางวันทุกวัน 10:30-15:00 น.

จานเด่น Nagasaki special turkish rice

Souvenior shop ร้านขายของที่ระลึก 2 จุด นี่คือบริเวณประตูทิศตะวันตก

ร้านขายของที่ระลึกประตูทิศตะวันตก อาจจะได้ของฝากที่นี่ เช่น ชามกระเบื้อง ผ้าพันคอพิมพ์ลายอ่าวเดจิมะที่เต็มไปด้วยเรือสินค้าจอดเรียงราย ฯลฯ

Former dejima protestant seminary ร้านขายของที่ระลึกประตูด้านตะวันออก

อาคารหลังนี้สร้างในปีค.ศ. 1878 เพื่อเป็นโรงเรียนสอนศาสนานิกายโปรแตสแตนต์ จึงมีไม้กางเขนประดับบนยอดหลังคาเป็นสัญลักษณ์ ส่วนชั้นล่างเปิดเป็นร้านขายของที่ระลึก ขอแนะนำคะระคะมิ ( Karakami) หรือกระดาษพิมพ์ลายในรูปแบบโปสการ์ด ตัวลายได้รับอิทธิพลจากจีน ซึ่งตรงกับยุคเฮอัง (Heian ปีค.ศ. 794-1185) โดยพิมพ์ลงบนกระดาษด้วยเทคนิคดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่สืบทอดมาตั้งแต่ยุคมุโระมะจิ (Muromachi ปีค.ศ. 1333-1573) ส่วนชั้น 2 เป็นห้องสมุด และห้องประชุม เป็นอาคารหลังสุดท้ายตั้งอยู่ตรงประตูทิศตะวันออก จากประตูนี้สามารถเดินต่อไปยังชุมชนจีนชินจิได้ (Shinchi chinatown)

Coffee truck & Kios icecream ร้านกาแฟ และไอศกรีมเย็นๆ ท่ามกลางอากาศร้อนๆ

ก่อนออกจากหมู่บ้านเดจิมะไปยังชุมชนจีนชินจิ (Shinchi chinatown) ท่างผ่านคือร้านกาแฟรถตู้ตรงสนามหญ้ากว้าง และต้นไม้ใหญ่ที่เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านนี้ ด้วยบรรยากาศที่ร่มรื่น แม้อากาศจะร้อนไปหน่อย แต่ความมุ้งมิ้งแบบนี้ก็อดไม่ได้ที่จะไม่ลอง แก้วนี้ลาเต้เย็นราคามิตรภาพ

 

address : Dejima, 6-1 Dejimamachi, Nagasaki-shi, Nagasaki-ken 850-0862  00 – 21:00 น.  ค่าธรรมเนียม 510 เยนสำหรับผู้ใหญ่ และ 200 เยนสำหรับเด็กเปิดบริการ 08:การเดินทาง : ขึ้นรถรางหมายเลข 1 ลงสถานี Dejimai tram stop

Shinchi chainatown ชุมชนจีนชินจิ ต้นกำเนิดอาหารอันโอชะ

จากหมู่บ้านตะวันตกเดจิมะประตูทางออกทิศตะวันออก เป็นทางเชื่อมไปสู่ชุมชนจีนชินชิ ซึ่งเป็นตลาดของขายอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะเป็นแหล่งรวมอาหารจีนที่ยกย่องกันว่าดีที่สุดในญี่ปุ่น และเป็นต้นกำเนิดอาหารที่เป็นสัญลักษณ์ของนะงะสะคิด้วย เนื่องจากจีนเป็นชาติแรกๆ เช่นเดียวกับโปรตุเกส และฮอลแลนด์ที่เข้ามาค้าขายกับญี่ปุ่นที่ท่าเรือนะงะสะคิ ซึ่งเมื่อเดินผ่านซุ้มประตูเข้ามา สิ่งที่เห็นคือร้านอาหารจีนที่ตกแต่งหน้าร้าน (Display) ด้วยอาหารจำลองเต็มไปหมด โดยเฉพาะอาหารสัญลักษณ์อย่างสะระอุด้ง (Sara udon) ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าใส่เครื่องต่างๆ ตามฤดูกาล เช่น กุ้ง ปลาหมึก ถั่วงอก กะหล่ำปลีซอย ฯลฯ และจัมปง (Champon noodles) ก๋วยเตี๋ยวซุปข้น ใส่เครื่องต่างๆ คล้ายสะระอุด้ง ฯลฯ รวมทั้งซึ้งนึ่งหมั่นโถวไส้หมูสามชั้นตุ๋น (Kakuni) ที่ควันขึ้นตลบอบอวล ทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นอาหารจีนสไตล์ญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนางาซากิ และยังมีอาหารชุดชิปโปะคุ (Shippoku) อาหารจีนที่เสิร์ฟแบบชุดใหญ่ที่ประกอบด้วยจานเล็กต่างๆ ตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย จานหลัก ของหวาน แต่ละจานปรุงจากวัตถุดิบตามฤดูกาล ซึ่งมีรูปแบบที่คล้ายอาหารญี่ปุ่นที่เรียกว่าไคเสะคิ (Keiseki) จึงเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่น และจีนเข้าด้วยกัน

ชุมชนจีนชินชิเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แล้ว โดยเริ่มที่ศาลเจ้าจีนขงจื๊อ (Confucius shrine and historical museum of china) ก่อนย้ายมาอยู่ที่นี่ ดังนั้น ในอาณาเขตนี้จึงเหมือนหลุดเข้ามาสู่โลกของจีน ทั้งสิ่งปลูกสร้าง วิถีชีวิต ผู้คน และของอร่อยที่เป็นต้นตำรับอหารจีนที่ดีที่สุดของญี่ปุ่น ในช่วงเทศกาลตรุษจีนราวปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์จะมีเทศกาลโคมไฟ ซึ่งจะประดับโคมไฟนับหมื่นดวง เพื่อแต่งแต้มบรรยากาศการเฉลิมฉลองตลอดความยาวถนนกว่า 250 เมตร และบริเวณต้นถนนยังมีร้านเนื้อนางซากิ (Nagasaki gyu) แบบย่างไม้ขายด้วย ไม้ละ 1,500+- เยน

address : Shinchi chinatown 12-7 Shinchi-machi, Nagasaki-shi, Nagasaki-ken 850-0852ารเดินทาง : ขึ้นรถรางหมายเลข 1 หรือหมายเลข 5 ลงสถานี Tsukimachi tram stop

 

More

ยังมีสถานที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวจีน เช่น Kofukuji temple, Sofukuji temple, Confucius shrine and historical museum of china, Former chinese settlement