วิธีวางแผน
- เริ่มจากลิสต์สถานที่ที่อยากไป จัดกลุ่มสถานที่เหล่านั้นตามเมือง และจังหวัด
- เลือก JR Pass ที่สอดคล้องกับสถานทีี่ เมือง และจังหวัดที่เลือกไว้ (JR = Japan railway เป็นบริษัทรถไฟรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งจะออกบัตรโดยสาร JR Pass สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ คนญี่ปุ่น หรือคนต่างชาติที่พำนักในญี่ปุ่นไม่สามารถใช้ได้ แต่ละภูมิภาคจะมี JR Pass สำหรับเกาะคิวชูมี 3 แบบ คือพื้นที่ตอนเหนือ ตอนใต้ และพื้นที่ทั่วเกาะ)
- ดูเส้นทางเดินรถไฟว่าจอดสถานีใด เมือง และจังหวัดใด เพื่อวางแผนเที่ยวในแต่ละวัน ตลอดจนการพักค้างคืน
- ดูข้อมูลว่าจากสถานี JR จะเดินทางต่อไปยังสถานที่เป้าหมายอย่างไร เช่น เดิน ต่อรถไฟท้องถิ่น แท็กซี่ หรือรถประจำทาง (ตามเมืองท่องเที่ยวจะมีตั๋วเหมา หรือ One day pass)
แบบที่ 1 Northern kyushu area pass ครอบคลุมพื้นที่ตอนเหนือของเกาะ

แบบที่ 2 Sounthern kyushu area pass ครอบคลุมพื้นที่ตอนใต้ของเกาะ

แบบที่ 3 All kyushu area pass ครอบคลุมพื้นที่ทั่วเกาะคิวชู

วิธีซื้อ JR Pass

วิธีขึ้นตั๋วที่ห้องตั๋ว JR Pass

ใช้บริการศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวได้ที่สนามบินฟุคุโอะกะ และตามเมืองต่างๆ
อื่นๆ เพิ่มเติ่ม
- ขอตารางเวลาเดินรถ (Timetable) เพื่อวางแผนเดินทางแต่ละวัน ทั้งรถไฟ และรถประจำทางในแต่ละเมืองที่ไป
- ระวังเรื่องเวลาการเดินรถ เวลาที่ระบุหน้าตั๋วคือเวลาที่รถแล่นออกจากชานชาลา ไม่ใช่เวลาที่รถไฟ หรือรถประจำทางมาถึง จึงต้องเตรียมพร้อมด้วยการมาถึงชานชาลาอย่างน้อยที่สุด 5-10 นาที หรือนานกว่านั้นกรณีกลัวพลาด
- การเลือกที่พัก สำคัญที่สุดคือเลือกให้ติดสถานีรถไฟไว้ก่อน เพื่อจะได้ออกเช้า และกลับดึกได้ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบอาคารโรงแรม/ เรียวคัง (Ryokan) หรือบ้านแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมที่ให้บริการพร้อมมื้ออาหาร และบางแห่งมีบ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติให้แช่ตัวด้วย/ เกสท์เฮ้าส์/ โฮสเทล ในรูปแบบอาคาร และบ้านญี่ปุ่น ถ้าต้องการใช้ชีวิตลุยๆ หรือมีเพื่อนต่างชาติพูดคุยในแต่ละวันเมื่อกลับถึงที่พัก ซึ่งจะมีพื้นที่ส่วนรวม เช่น ห้องรับแขก ห้องครัวที่ทำอาหารกินเองได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎการอยู่ร่วมกัน เช่น การแยกขยะ การใช้ตู้เย็น การใช้ปลั๊กไฟ การรักษาความสะอาด ฯลฯ
- การจัดข้าวของลงกระเป๋า เลือกเสื้อผ้าให้น้อยชิ้นที่สุดแล้วใส่ซ้ำดีกว่าหอบไปเยอะๆ ซึ่งทำให้หนัก และเปลืองพื้นที่ ถ้านอนเกสท์เฮ้าส์หลายวันจะมีเครื่องซักผ้าแบบหยอดเหรียญให้ใช้
- วางแผนไปกลับจากที่พักโดยหลีกเลี่ยงช่วงเวลาเร่งด่วนของคนญี่ปุ่น โดยเฉพาะในเมืองหลักตอนเช้า 7:00-8:00 น. ตอนเย็น 17:00-18:00 น. ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ให้แวะซื้อหน้ากากอนามัยติดตัวในร้านสะดวกซื้อ หรือร้านขายยา เพราะเป็นช่วงที่บนรถไฟ หรือรถประจำทาง คนจะแน่นเหมือนปลากระป๋อง จึงจำเป็นต้องใช้เพื่อสุขอนามัยตัวเอง และคนรอบตัว
- เลือกสัญญาณอินเทอร์เน็ตตามการใช้งาน เช่น เปิดโรมมิ่งจากค่ายมือถือที่ใช้งานอยู่ หรือเลือกพ็อคเก็ตไวไฟ (Pocket wifi) หรือซื้อซิมการ์ด (Simcard) โดยทุกช่องทางมีโอกาสอินเทอร์เน็ตหลุด แล้วต้องเชื่อมต่อใหม่ ดังนั้น จะเลือกแบบไหนให้พิจารณาจากที่มี Call center ที่สามารถติดต่อได้กรณีฉุกเฉินหรือไม่
- อย่าลืมอุปกรณ์ไอทีที่จำเป็น โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป แบตเตอรี่ การ์ดความจำ ปลั๊กไฟ ฯลฯ
- อย่าลืมหนังสือเดินทาง และกระเป๋าสตางค์ ตรวจสอบวงเงินในบัตรเครดิต บัตรเดบิท หรือแลกเงินสดให้พอเพียง กรณีใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิท ค่าเงินจะคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารในวันนั้นๆ ไม่ใช่คำนวนตามอัตราแลกเปลี่ยนของร้านแลกเงิน (ที่อัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าธนาคาร)
- อย่าลืมซื้อประกันการเดินทาง สอบถามข้อมูลให้ละเอียดถึงการคุ้มครอง ช่องทางติดต่อกรณีฉุกเฉิน ต้องสำรองเงินจ่ายก่อนหรือไม่ ฯลฯ
- พร้อมแล้วก็ไปกันเลัยยยย